-- ฤทธิ์ในการป้องกันตับ จากการวิจัยในหนู 3 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ได้รับอาหารปกติ ส่วนหนูในกลุ่มที่ 3 ได้รับเซซามินในขนาด 1.0 % หลังจากนั้นนำหนูในกลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 ไปเลี้ยงในห้องที่ฟุ้งไปด้วยไอของเอธานอลเป็นเวลา 1 สัปดาห์ และในเวลาต่อมานำหนูเหล่านั้นมาตรวจเลือดและเนื้อเยื่อตับ พบว่า หนูที่ได้รับแอลกอฮอล์เกิดการอักเสบของตับ มีระดับไครกรีเซอไรด์สูงเมื่อเทียบกับหนูที่เลี้ยงตามปกติ แต่การอักเสบดังกล่าวในหนูที่ได้รับเซซามินจะน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อศึกษาเซลล์ตับพบว่ากลุ่มที่ไม่ได้กินเซซามินมีการสะสมของไขมันซึ่งเป็นพยฺสภาพที่ตับถูกทำลายในปริมาณที่มากกว่าหนูที่ได้รับแอลกอฮอล์และเซซามินอย่างชัดเจน จากผลการวิจัยพบว่าเซซามินมีฤทธิ์ในการป้องกันตับจากการถูกทำลายโดยเอธิลแอลกอฮอล์ นอกจากนั้นยังมีการวิจัยถึงความเป็นพิษเฉียบพลันที่เกิดกับตับ โดยเปลี่ยนจากการได้รับเอธิลแอลกอฮอล์มาเป็นคาร์บอนเตตร้าคลอไรด์ ซึ่งหลังจากผลการวิจัยพบว่า ตับของหนูที่ได้รับคาร์บอนเตตร้าคลอไรด์ถูกทำลายอย่างมาก แต่ตับของหนูที่กินเซซามินจะถูกทำลายน้อยกว่า โดยเห็นได้จากการที่เซลล์ตับมีไขมันสะสมน้อยกว่า และหนูมีระดับดลอเลสเตอรอลไตรกลีเซอไรด์และบิลิรูบินดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับเซซามินอย่างมีนัยสำคัญ
-- ฤทธิ์ในการป้องกันมะเร็ง การวิจัยแบ่งหนูออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 ได้รับเซซามินในขนาด 0.2% และกลุ่มที่ 3 ได้รับแอลฟาโดโคเฟอริลอะซเตทในขนาด0.2% หลังจากนั้น 1สัปดาห์จึงทำการฉีด 7,12-demethylbenz[DMBA] ขนาด 10มิลลิกรัมเข้ากระเพาะอาหารหนู หลังจากนั้น 12 สัปดาห์ พบว่า เซซามินช่วยลดมะเร็งเต้านมที่เกิดจากการได้รับDMBAลงถึงร้อยละ 36 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยกระบวนการในการต่อต้านเซลล์มะเร็งของเซซามินอาจประกอบไปด้วยฤทธิ์ต่างๆคือ - ฤทธิ์ในการเพิ่มอัตราการกำจัดสารพิษจากขบวนการคอนจูเกชั่น [conjugation]
- ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ
- ฤทธิ์ในการเสริมภูมิคุ้มกัน
- ฤทธิ์ในการต่อต้านการกลายพันธุ์[anti-mutagenic]
- ฤทธิ์ร่วมกันของกลไกทั้ง4ข้างต้น
-- ฤทธิ์ในการปกป้องหัวใจและหลอดเลือดจากการมีไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ การวิจัยในหนูที่มีระดับไขมันเลือดสูงกว่าปกติ โดยให้กินเซซามิน พบว่าหนูที่กินเซซามินจะมีระดับของไขมันHDL สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับหนูกลุ่มควบคุม ซึ่งการสูงขึ้นของระดับไขมันHDLจะเป็นนัยสำคัญในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
--ฤทธิ์ลดความดันโลหิต การวิจัยในหนูที่ถูกกระตุ้นให้เกิดความดันโลหิตสูง โดยแบ่งหนูออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ กลุ่มที่ได้รับเกลือที่ชื่อว่า deoxycorticosterone acetate [DOCA salt] โดยการฉีดเข้าไปใต้ผิวหนังสัปดาห์ละ 2ครั้ง และกลุ่มไม่ได้รับเกลือดังกล่าว จากนั้นจึงแบ่งหนูในแต่ละกลุ่มเป็น 3 กลุ่มย่อย โดยให้หนูแต่รับกลุ่มได้รับอาหารตามปกติ , อาหารที่ผสมเซซามิน 0.1% , อาหารที่ผสมเซซามิน1.0% ตามลำดับ หลังเลี้ยงหนูดังกล่าวนาน 5สัปดาห์ แล้วทำการวัดการสร้างซุปเปอร์ออกไซด์ที่หลอดเลือดหัวใจ พบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับเกลือพร้อมเซซามินมีระดับซุปเปอร์ออกไซด์ที่เป็นตัวการทำลายผนังหลอดเลือดต่ำกว่าหนูที่ได้รับเกลือแต่ไม่ได้รับเซซามินอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะหนูกลุ่มที่ไม่ได้รับเกลือแต่ได้รับเซซามิน ยังคงมีระดับซุปเปอร์ออกไซด์ดังกล่าวเป็นปกติ จากการที่ระดับซุปเปอร์ออกไซด์มีความสัมพันธ์กับระดับความดันเลือดเมื่อหัวใจบีบตัว ผู้วิจัยจึงสรุปว่า การรับประทานเซซามินน่าจะเป็นผลดีกับผู้มีความดันโลหิตสูงโดยคาดว่าฤทธิ์ดังกล่าน่าจะมีผลจากฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระของเซซามิน
** ความปลอดภัย การศึกษาการกระจายตัวและการกำจัดของเซซามินในหนูที่ได้รับเซซามินนาน 8สัปดาห์ พบว่ามีเซซามินเหลืออยู่ที่ตับใปริมาณน้อยมาก แสดงให้เห็นว่าไม่มีการรสะสมหรือตกค้างที่ตับ อย่างไรก็ตามผู้วิจัยกล่าวว่าอาจพบเซซามินในเนื้อเยื่อต่างๆไดบ้าง แต่ว่าร่างกายจะสามารถกำจัดสารทั้ง2ให้หมดออกจากร่างกายได้ภายใน24ชั่วโมง
** สรุป งาจัดเป็นธัญพืชที่ให้คุณประโยชน์ต่อสุขภาพมีสารอาหารเกือบครบถ้วน ซึ่งนับว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ที่สำคัญ งา มีสารลิกแนน [lignans] ที่สำคัญ 2 ชนิดคือ เซซามิน[sesamin] และเซซาโมลิน[sesamolin] ซึ่งผลวิจัยในสัตว์พบว่าสารเซซามินมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งช่วยยับยั้งการดูดซึมของคลอเลสเตอรอลในตับ นอกจากนั้นยังมีฤทธิ์ในการเพิ่มอัตราการกำจัดสารพิษ การต้านแบคทีเรีย ยาฆ่าแมลงและไม่ก่อให้เกิดการสะสมในร่างกาย การวิจัยในสัตว์พบว่า การเสริมสารเซซามินอาจช่วยให้ระดับคลอเลสเตอรอลและไขมันในเลือดเป็นปกติ โยควบคุมตับในการปลดปล่อยไขมัน ยับยั้งการดูดซึมและการสังเคราะห์คลอเลสเตอรอล นอกจากนี้สารเซซามินยังช่วยควบคุมสารไอโคซานอยด์ ช่วยเพิ่มสมดุลภูมิต้านทานและการตอบสนองต่อระบบauto-immine
ข้อมูลและเอกสารอ้างอิง จากวารสารโภชนาบำบัด พศ.2547 ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 Thai joumal of Parenteral and Nutrition 2004;15[2] …………………………………………………………………………..
|